Read in English / 阅读语言 English
简体中文
นิทรรศการ “The Garden of Earthly Delights” ที่จัดขึ้น ณ Mixed-Use Complex สุดหรูอย่าง Wynn Palace เป็นหนึ่งในไฮไลท์สำคัญของเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Art Macao 2019 (อาร์ต มาเก๊า) ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 เป็นเวลาห้าเดือนเต็ม ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ตุลาคม โดยมีพิพิธภัณฑ์ และ สถานที่สำคัญในเมาเก๊าเข้าร่วมจัดแสดงงานทั้งหมด 33 แห่ง
วันนี้ผมจะขอพาทุกท่านไปชมงานศิลปะที่คอมเพล็กซ์สุดหรูแห่งนี้ ซึ่งชมแล้วต้องว่าผลงานแต่ละชิ้นนั้นใช้เทคนิคการสร้างสรรค์ศิลปะที่ไม่ซ้ำกันเลย จึงได้อรรถรสที่ต่างกันออกไป…ทำให้ดูรวมๆออกมาแล้วมีเสน่ห์เหลือเกิน

แรงบันดาลใจจากภาพวาด 500 ปีที่แล้ว

นิทรรศการ “The Garden of Earthly Delights” ที่ Wynn Palace ตั้งชื่อตามผลงานจิตรกรรมของ Hieronymus Bosch (เฮียโรนิมัส บอช) ศิลปิน ชาวเนเธอร์แลนด์หัวก้าวหน้าแห่งยุค Renaissance (ฟื้นฟูศิลปวิทยาการ) ในช่วงศตวรรษที่ 16 โดยภาพนี้เชื่อวาดขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2033-2053 และถือเป็นภาพสามกรอบ (Triptych) ระดับตำนาน ที่ได้พรรณาฉากของ สวรรค์ โลก และ นรก โดยกรอบซ้ายเล่าถึงฉากบนสรวงสวรรค์ เมื่อพระเจ้าได้สร้าง อดัม และ อีฟ มนุษย์คู่แรกขึ้นมา ส่วน กรอบขวาเป็นสภาพของมนุษย์ที่ทุกข์ทรมานจากความลุ่มหลงในกิเลสอย่างหนัก และ ในกรอบกลางซึ่งเป็นเนื้อหาหลักของภาพนี้ เราจะเห็นสวนขนาดใหญ่ซึ่งมีบ่อน้ำและน้ำพุ ประกอบกับกลุ่มชายหญิงในร่างเปลีอยเปล่าที่กำลังจับกลุ่มในอิริยาบถต่างๆท่ามกลางธรรมชาติและสัตว์น้อยใหญ่ที่ดูจะกลมกลืนไปด้วยกัน ภาพนี้มีความน่าสนใจอยู่ที่ว่า ภูมิทัศน์และบรรยากาศของกรอบซ้ายและกลางนั้นเชื่อมต่อกัน (สังเกตจากเส้นขอบฟ้า) ในขณะที่ภาพ นรกทางขวานั้นใช้สีเข้มเน้นบรรยากาศมืดมน สร้างจังหวะที่ขัดแย้งกันอย่างชัดเจน….เป็นไปได้หรือไม่ว่าศิลปินต้องการจะบอกว่า สวรรค์ กับ โลกนั้นแท้จริงแล้วคือพื้นที่เดียวกัน แต่ด้วยกิเลส และ ความมักมากของมนุษย์ทำให้สวรรค์กลับกลายเป็นนรก โดยโลกของแต่ละคนจะเป็นอย่างไรถูกกำหนดด้วยพื้นที่แห่งความพึงพอใจ (Delights) หรือความรู้จักพอ ของแต่ละปัจเจกบุคคลนั่นเอง ….

จึงไม่แปลกใจเลยว่า ผลงานที่จัดแสดงในนิทรรศการนี้จะเล่นแนวคิดเกี่ยวกับ “พื้นที่” แทบทั้งสิ้นแม้กระทั้งผลงานจิตรกรรมก็ยังเล่นกับที่ว่างในเฟรมของตัวมันเอง Chip Tom (ชิป ทอม) ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการนี้ได้เชิญ 7 ศิลปินระดับโลกที่สไตล์การทำงานแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงมาแสดงงานที่มาเก๊าเป็นครั้งแรก ได้แก่ Herb Alpert(เฮริบ์ อัลเพิรท์), MAD Architects (Yangson Ma)(แมด อาชิเทค(เยียนซง มา)), Refik Anadol(เรฟริก อนาดอล), Jennifer Steinkamp(เจนนิเฟอร์ สไตน์แคมป์), Sam และ Shingo Francis (แซม และ ชินโกะ ฟรานซิส) และ Edoardo Tresoldi (เอ็ดโดอาโด ทรีโซลดิ)
ข้ามเวลาสู่ ศิลปะร่วมสมัยในมาเก๊า
เอาหละ พร้อมแล้วมาชมกันว่า แต่ละคนจะรังสรรค์และตีโจทย์จากภาพ “The Garden of Earthly Delights” ในบริบทแวดล้อมของความร่วมสมัยในมาเก๊ากันอย่างไรบ้าง

เมื่อเข้ามา เราจะได้รับการต้อนรับจากผลงานภาพวิดิโออาร์ต จาก Refik Anadol ศิลปิน และ อาจารย์ จาก University of California, Los Angeles ผู้สร้างงานศิลปะด้วยข้อมูล ผลงานวิดิโออาร์ตสีน้ำทะเล ‘Macau Current: Data Printing’ เป็นผลงานศิลปะที่เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลความเคลื่อนไหวของผิวคลื่นท้องทะเลของมาเก๊า ทุกๆ 30 นาที เป็นเวลา 30 วันด้วยเรดาความละเอียดสูง จากนั้นนำข้อมูลไปประมวลผลด้วยหลักการวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Sciene) และ การเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ (Machine Learning) จนทำให้ได้ภาพวิดิอาร์ตที่ออกมาน่าตื่นตาตื่นใจ และที่อยู่ข้างกันนั้นเป็นผลงาน Melting Memories ซึ่งอนาดอลไดสร้างงานโดยใช้ข้อมูลที่เก็บจากการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalography (EEG)) และใช้ศิลปะสะท้อนสิ่งที่อยู่ในเบื้องลึกของความคิด เราไปผลงาน และ เบื้องหลังของศิลปะจากข้อมูลสองชิ้นนี้กันครับ

ออกจากสวนของ Herb เราเดินมาพบกับมุมแสดงภาพของสองพ่อลูก Sam และ Shingo Francis ซึ่ง โดยทางคุณพ่อ Sam (พ.ศ. 2466 -2537) ผู้ล่วงไปแล้วนั้นเป็นศิลปิน Abstract Expressionism ที่มีชื่อเสียงในการผสมผสานสุนทรีย์ความเป็นนามธรรม เข้ากับ พื้นที่เชิงลบ โดยในงานนี้ได้นำเสนอชุดผลงาน สี่ ชิ้น ที่เห็นต้องชวนให้หยุดมองพิจารณาถึงพื้นที่ในส่วนต่างๆของภาพ สำหรับ Shingo ผู้ลูกนำเสนอผลงานจิตกรรมสองชิ้นโดยหนึ่งในนั้นคือ ผลงาน ‘Matrix’ ที่เขาได้วาดขึ้นเพื่อสร้างบทสนทนากับผลงาน ‘Untitled 1978’ ของผู้พ่อ ถึงแม้ว่าผลงานขอพ่อลูกคู่นี้จะจัดแสดงอยู่ใกล้กันในนิทรรศการนี้ แต่ทว่าช่วงเวลาที่สร้างงานนั้นห่างกันถึง 40 ปี



]ผลงาน Sacral ของ Edoardo Tresoldi สร้างขึ้นจากตะแกรงเหล็กไวร์เมช (Wire Mesh) ที่เชื่อมต่อร้อยกันเป็นรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบยุค Renaissane (ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ) ซึ่งประกอบไปด้วยซุ้มประตูโค้ง เสาคลาสิค ละ โดมหลังคา เมื่อผู้เขียนชมผลงานชิ้นด้วยตาเปล่า พบว่าจะเห็นความตื้นลึก และ รายละเอียดของผลงานได้ไม่ชัดเจนนัก แต่เมื่อมองผ่านกล้องเราจะเป็นภาพชัดขึ้นมาเลยหละครับ ผลงานชิ้นนี้ยังจัดไฟไว้ได้อย่างน่าสนใจ เพราะหากเราเดินเปลี่ยนมุมมอง เราจะได้เห็นมิติและความตื้นลึกของผลงานนี้ในมุมที่แตกต่างกันออกไปด้วย เรียกได้ว่าเป็นการนำสถาปัตยกรรมอายุหลายร้อยปีมาตีความใหม่ในรูปแบบของความร่วมสมัยที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก


ห้องสุดท้ายเป็นผลงาน ‘Silence Dogood’ ศิลปะภาพเคลื่อนที่ฉากจากเครื่องโปรเจคเตอร์ลงบนผนังห้อง โดย Jennifer Steinkamp ผู้ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากทฤษฏีไฟฟ้าของ เบนจามิน แฟรงคลิน (ผู้ที่ใช้เคยใช้นามปากกว่า Silence Dogood ซึ่งเป็นที่มาของชื่อผลงาน) โดยภาพเคลื่อนไหวที่เห็นนี้สร้างจากรูปแบบการเคลื่อนตัวของอนุภาคน้ำแข็งชิ้นเล็กๆที่กระทบเสียดสีกันไปมาในเมฆและทำให้เกิดไฟ้สถิตจนกลายเป็นฟ้าผ่าในที่สุด ซึ่งในส่วนของอนุภาคต่างๆและฟ้าผ่าที่เห็นใน Animation นั้นวาดลายเส้นด้วยมือทั้งสิ้น
ผลงานชิ้นนี้เคยจัดแสดงในชื่อ ‘Winter Fountains’ ที่ Benjamin Franklin Parkway ใน ฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริการ มาแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2560-2561 โดยตอนนั้น Jennifer และทีมงาน ได้ใช้โปรเจคเตอร์ 16 ตัวฉายภาพลงไปที่โดมครึ่งวงกลมที่มีความสูงประมาณเกือบ 4 เมตร แต่ครั้งนี้จัดแสดงในกำแพงสี่เหลี่ยมลักษณะตัว U ซึ่งจะเป็นอย่างไรไปชมกันได้เลย
เมื่อผมเดินมาจนสุดห้องแสดงนิทรรศการแล้ว มีทางให้เดินออกไปพื้นที่ด้านนอก ซึ่งทำให้ได้พบกับ ภาพกราฟิตตี้ 3 มิติ ที่ตกแต่งตามพื้นและกำแพง พร้อมกับ ประติมากรรมที่ดัดแปลงรูปทรงมาตัวอักษรจีนคำว่า AI (อ้าย) ซึ่งแปลว่าความรัก โดยตรงกลางนั้นทำรูปหัวใจที่มีหลอดเสียบอยู่เต็มไปหมด ซึ่งผู้ชมงานสามารถหยิบหลอดขึ้นมาเพื่อเสียบเข้าไปที่หัวใจที่ทำจากแผ่นอะคริลิคเจาะรูเป็นลักษณะรังผึ้ง ซึ่งผลงานดูเหมือนจะเล่นกับกระแสรักสิ่งแวดล้อมแต่ทว่าดูเหมือนจะใช้หลอดเป็นจำนวนมากอยู่ ผมสงสัยว่าเขาจะจัดการกับหลอดที่ใช้กับผลงานนี้อย่างไร จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ ทราบว่าหลังจากจบ Art Macao แล้ว ผลงานนี้จะถูกนำไปจัดแสดงตามพื้นที่ต่างๆใน โรงแรมต่อไป




ผมเองก็ไม่พลาดที่จะลองเล่นกับศิลปะแห่งความรักชิ้นนี้
ทีเด็ด! ศิลปะในสวน ขนาด 30 เมตร!
ยังมีผลงานศิลปะในสวนนอกอาคารที่มีขนาดใหญโต เกือบ 30×30 เมตร ซึ่งถือเป็นหนึ่งใน ไฮไลท์ของเทศกาล Art Macao เลยทีเดียว เชิญพบกับ Dragon’s Claw หรือ “รอยเท้ามังกร” ของสถานปนิกสุดแนว Yangson Ma

เรื่อง ภาพ และ วิดิโอ: เต้ Art Man