โซล เมืองหลวงแห่งศิลปะ?

Read in English / 阅读语言 English 简体中文

โซล เมืองหลวงแห่งศิลปะ?
ภาพ: Acquavella Galleries ในงาน Frieze Seoul 2022 Photo by Lets Studio. Courtesy Lets Studio and Frieze.

โซล เมืองหลวงแห่งศิลปะแห่งใหม่ของเอเชีย? ประเด็นนี้ได้ก่อตัวมาเป็นเวลาประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งมาวันนี้ผมบอกได้เลยว่าเมือง โซล ประเทศเกาหลีใต้ได้ปักหมุดลงบนแผนที่ศิลปะโลกได้สำเร็จแล้วครับ!!!

Frieze Seoul ตัวจุดชนวน โซล เมืองหลวงแห่งศิลปะ?

สำหรับ โซล ภาพอนาคตที่วางเป้าตัวเองไว้เป็นศูนย์กลางโลกศิลปะเข้ามาใกล้มากขึ้นทุกที เรื่องนี้น่าสนใจมากๆนะครับ และ มีอะไรให้พูดถึงเยอะมากเกี่ยวกับคำว่าที่ว่า “Seoul Rising” ในโลกศิลปะ  และ การมาของงาน Frieze Seoul ในครั้งแรกนี้มันเป็นจิ๊กซอว์ส่วนสำคัญซึ่งสะท้อนอะไรได้มากขึ้นจริงๆ

วันนี้ก็จะมาขอเล่าพอสังเขป เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 2-5 กย 2022 Frieze ได้เปิดตัวจัดงานครั้งแรกที่ Seoul ที่ COEX ในเขต กังนัม (จัดคู่กับงาน Kiaf เลย) ซึ่งหลังจากเช็ค feedback แล้ว ต้องว่าความ success ที่เกิดขึ้นนั้นมันไม่เฉพาะกับตัว Frieze เท่านั้น แต่ภาพใหญ่แต่คือกรุงโซล ซึ่งงานนี้ได้เขย่าบัลลังค์ ฮ่องกง ที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายงานศิลปะในภูมิภาคในปัจจุบันพอสมควร

แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่า งาน Frieze ทำให้ โซล กลายเป็น Rising Star โลกศิลปะ ต้องบอกว่าหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลเขามีการปลุกปั้นเรื่องนี้กันมาสักพักใหญ่แล้ว อีกทั้ง ecosystem ศิลปะของเขาก็แข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ งาน Frieze Seoul ครั้งแรกนี้เป็นเหมือนตัวจุดชนวนสำคัญที่ฉายให้เห็นภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ข้างล่าง (แน่นอนว่าเอาแค่งาน Frieze Seoul ณ วันนี้ ตัวเลขยอดขายก็รายงานกันไปต่างๆนาๆ แต่ผมว่ายังไงก็สู้ Art Basel Hongkong ยังไม่ได้อยู่ดี

ภาพ: บรรยากาศในงาน Frieze Seoul 2022 Photo by Lets Studio. Courtesy Lets Studio and Frieze.

บัลลังก์ที่สั่นคลอนของฮ่องกง

ถ้าใครเคยจำได้ผมเคยโพสต์เกี่ยวกับข่าวลือสุดหนาหูว่า Art Basel มีแผนจะไปจัดครั้งแรกที่ Tokyo เพื่อกินตลาดใน เอเชียตะวันออก… แต่แล้วก็ยังไม่เกิด คิดว่าเพราะอะไรหละครับ?… ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน … รู้แต่ว่าข่าวลือใหม่ที่ออกมาคือ Art Basel Seoul!

ในแง่จังหวะเวลา มันประจวบเหมาะที่ว่าตอนนี้ ฮ่องกง อันเป็นศูนย์กลางการซื้อขายศิลปะของภูมิภาคในปัจจุบัน กำลังประสบปัญหาทางการเมือง ซึ่งหนึ่งในคู่ขัดแย้งคือประเทศจีน ผู้กระเดื่องนามในเรื่องการ Censorship ศิลปะ กับ ปฏิวัติวัฒนธรรม แน่นอนหละ Gallery ระดับโลกที่ไปเปิดสาขากันอยู่แถวนั้นพูดอะไรก็ไม่ได้มากเพราะน้ำท่วมปาก เพราะยังต้องทำมาหารับประทานกันอยู่ที่นั่น เรื่องเหล่านี้จึงนำไปสู่ การมองหา “ศูนย์กลางศิลปะ” แห่งใหม่ มันเลยเป็น demand ใหม่ของภูมิภาคไปโดยปริยาย

ภาพ Gallery Hyundai ในงาน Frieze Seoul 2022 Photo by Let’s Studio. Courtesy Frieze and Let’s Studio.

อาวุธลับและอนาคตของ โซล ในฐานะศูนย์กลางของศิลปะแห่งภูมิภาค

จัวหวะเดียวกับโลกศิลปะมาพานพบกับโลก Blockchain ที่ทั้ง NFT และ Metaverse เข้ามามีบทบาทและเกิดการ “Disruption” ในวงการศิลปะ ซึ่งประเทศเกาหลีใต้ก็เตรียมความพร้อมการเป็นผู้นำในโลก Web 3.0 ด้วยศักยภาพทางเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม นี่ยังไม่นับ ultimate skill ที่สามารถใช้พลังจาก soft power ของ k-pop ที่จะมาพลักดันศิลปะได้อีก ยกตัวอย่างงาน Frieze Seoul ก็โปรโมทพี่ Lee Jung Jae พระเอก Squid Game และ IL Mare (เก่าไปมะ 5555) ในฐานะนักสะสมศิลปะคนนึงด้วย

ถ้าจะย้อนกันถึงรากเหง้า แบบที่คนในบางประเทศชอบถามหากัน ต้นทุนทางวัฒนธรรมของเกาหลีใต้เองก็ถือว่าไม่ได้มีเยอะจากปัญหาทางการเมือง และ การตกเป็นเมืองขึ้นของทั้งจีนและญี่ปุ่นในอดีต แต่มาวันนี้ด้วยวิสัยทัศน์ และ การจัดการ soft power พร้อมกับการตระหนักรู้ว่า What the hell is going on in the industry? ทำให้เขาสามารถนำเมืองหลวงของเขาปักหมุดลงบนแผนที่ศิลปะโลกได้อย่างงดงามมาก

อนาคตผมมองว่า โซล ยังมีศักยภาพที่ยังไม่ได้ใช้อยู่อีกเยอะตัวเอง เขายังมีอาวุธเด็ดอีกมากมายที่เก็บไว้อยู่ในฝัก การเป็นศูนย์กลางศิลปะร่วมสมัยของเอเชียไม่น่ายากแล้วสำหรับเขา ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะ position ตัวเองเป็นศูนย์กลางศิลปะของโลกหรือไม่… ซึ่งผมว่าเขาคิดไปไกลถึงจุดนั้นแน่นอน

และมันเป็นเรื่องต้องติดตามกันต่อไป คำที่ว่า “โซล เมืองหลวงแห่งศิลปะ” ระดับโลกจะเป็นจริงได้หรือไม่

เรื่อง เต้  Art Man