ฟรีด้า คาห์โล: ความเจ็บปวดของ LGBT ผ่านภาพ Self-Portrait

Read in English / 阅读语言 English 简体中文

ฟรีด้า คาห์โล LGBT
ฟรีด้า คาห์โล

ผลงานของศิลปิน LGBT+ มักจะแสดงออกถึงการลงลึกค้นหาตัวต้นที่แท้จริง ท่ามกลางความสับสน ความกดดัน และ ปัญหาของความเป็นคนชายขอบสังคมที่ไม่ได้รับการยอมรับ รวมไปถึงแฝงแนวคิดแบบกบฏซึ่งท้าทายขนบธรรมเนียมเดิมๆที่ความสัมพันธ์กันเชิงคนรักนั้นถูกจำกัดจากด้วยเพียงเพศสภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดเท่านั้น

ตลอดเดือนนี้ เต้ Art Man: The Series ขอนำเสนอ 5 ศิลปินชื่อดังในโลกศิลปะที่ใช้แรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตแบบ LGBT+ มาสร้างสรรคเป็นผลงานศิลปะระดับโลกที่สร้างความตระหนักรู้และสะท้อนถึงความหลากหลายทางเพศในสังคม โดยวันนี้ขอเริ่มที่ศิลปินผู้สื่อสารความเป็น LGBT+ ได้อย่างแยบยลและตรงใจผ่านภาพวาดมากมาย โดยปัจจุบันเธอได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งใน Icon ของชาว Queer ทั่วโลก – “ฟรีด้า คาห์โล (Frida Kahlo)”

ฟรีด้า คาห์โล (Frida Kahlo)

ฟรีด้า คาห์โล (1907-1954) เป็นศิลปินชาวเม็กซิกันที่โด่งดังด้วยภาพวาด Self-Portrait ที่มักจะบรรยายถึงมรดกทางวัฒนธรรมของบ้านเกิด ถึงแม้เธอเคยแต่งงานและเป็นภรรยาของศิลปินชื่อดังบ้านเดียวกับเธอ ดิเอโก ริเวร่า (Diego Rivera) ซึ่งทั้งสองอายุต่างกันถึง 20 ปี แต่เธอเองก็แสดงตัวตนว่าเป็น Bisexual แบบเปิดเคยคบหากับศิลปินและดาราหญิง

จึงไม่แปลกที่ผลงานภาพ Self-Portrait ของเธอนั้นจึงเต็มไปด้วยการค้นหาตัวเองและเพศสภาพดังที่จะปรากฏในผลงาน Self-Portrait with Cropped Hair, 1940 ที่เธอวาดภาพตัวเองกล้อนผมสั้นโดยมีเศษผมกระจายเต็มพื้น ใส่ชุดสูทแบบบุรุษเพศ โดยด้านบนนั้นมีเนื้อเพลงภาษาเม็กซิกันใจว่าคำว่า ถ้าฉันรักคุณเพราะเส้นผมของคุณ ตอนนี้คุณไม่มีเส้นผม ฉันไม่รักคุณอีกต่อไปแล้ว

ฟรีด้า คาห์โล
ผลงาน Self-Portrait with Cropped Hair, 1940

Two Frida- สองบุคคลิก หนึ่งตัวตนของฟรีด้า

ฟรีด้า คาห์โล
ผลงาน Two Frida, 1939

ในผลงาน Two Frida, 1939 ซึ่งเธอได้วาดภาพตัวเองออกมาสองคนนั่งในท่าเดียวกันและหันหน้าเข้าหาจับมือกัน ด้านซ้ายเป็น ฟรีด้า ที่แต่งตัวในแบบชุดตะวันตก ส่วนด้านขวาเป็นตัวเธอในชุดท้องถิ่นของเม็กซิกัน ภาพนี้เธอได้วาดขึ้นหลังจากที่ได้ตกลงหย่าร้างกับดิเอโกได้ไม่นานซึ่งมันได้สะท้อนถึงความเจ็บปวด และ ตัวตนสองด้านของเธอ

ชุดที่ใส่นั้นสะท้อนถึงสายเลือดที่ผสมกันทั้งระหว่างคุณพ่อที่เป็นชาวเยอรมัน และ คุณแม่ที่เป็นเม็กซิกัน และ Life Style ก่อนที่จะมาคบ ดิเอโกที่เธอมักชอบใส่ชุดแบบตะวันตก และ หลังจากคบกัน ดิเอโกก็มักจะเชียร์ให้เธอใส่ชุดแบบบ้านเกิด

แต่ไม่ว่าภาพนี้จะแสดงความซับซ้อนในตัวตนของเธอเช่นไร แต่เส้นเลือดที่พาดผ่านหัวใจของทั้งคู่ที่ถูกเปิดออกนั้นกลับเชื่อมถึงกันราวกับเป็นคนคนเดียวกัน โดยมือขวาของ Frida ทางซ้ายนั้นกำลังถือกรรไกรห้ามเลือดที่กำลังหนีบเส้นเลือดที่หยดลงบนตัก ส่วน ฟรีด้า ทางขวานั้นถือรูป ล็อกเก็ทที่มีภาพของ Diego ในวัยเด็กผู้ซึ่งน่าจะเป็นต้นเหตุแรงบันดาลใจของการสร้างผลงานนี้

ฟรีด้า เคยอธิบายถึงเหตุผลที่เธอชอบวาดรูป Self-Portrait ไว้ว่า “ฉันวาดรูปตัวเองเพราะมักจะเหงาอยู่บ่อยๆ และ เพราะว่าตัวฉันเองเป็นบุคคลที่ฉันรู้จักดีที่สุดแล้ว”

ฟรีด้า ได้ใช้ศิลปะดำดิ่งและค้นหาตัวตนเปิดเผยเบื้องลึกในจิตใจของตนเองจนทำให้ผลงานของเธอนั้นได้รับความชื่นชมเป็นอย่างมาก และ เธอยังได้เป็นศิลปิน Latin American คนแรกที่มีงานไปแขวนอยู่ในพิพิธภัณฑ์ Louvre นอกจากนี้ผลงานของ ฟรีด้า ยังถูกนำไปใช้ในเชิงสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหว LGBT+ มากมาย

ตอนหน้า เต้ Art Man จะพาไปพบกับ ช่างภาพที่นำเสนอวัฒนธรรมย่อยของชาวเกย์ที่สุดแสนจะดุเดือดถึงขั้นผลงานโดนสั่งห้ามแสดงเลยทีเดียว และ แถมโดนกระแสสังคมตีตราผลงานว่าเป็นงาน “อุบาทว์” แต่ทว่าในอีกมุมมันกลับเป็นศิลปะภาพถ่ายที่โลกต้องจดจำและปีที่แล้วถูกประมูลไปเกือบ 3 ล้านบาท

คุณอาจจะสนใจชมเรื่องราว คดีละเมิดลิขสิทธิ์ Andy Warhol เช่นกัน กดชมได้เลย

ภาพถ่ายประกอบกราฟิค: Portrait of Frida Kahlo by Guillermo Kahlo, 1932