Read in English / 阅读语言 English 简体中文
กล้วยลูกละ 3.6 ล้าน
เป็นเรื่องร้อนวงการศิลปะระดับโลก ส่งท้ายปี พ.ศ. 2562 กับการประกาศขายผลงาน ‘Comedian’ ศิลปะจัดวางที่นำผลกล้วยมาแปะกับเทปกาวบนผนัง ต้นทุนวัสดุการผลิตผลงานชิ้นนี้อาจจะไม่ถึง 30 บาท แต่มันกลับขายไปได้ 3.6 ล้านบาท
ในงาน Art Basel Miami Beach 2019 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ณ Miami Beach Convention Center เมือง ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมด โดยเจ้าของผลงานชิ้นนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน Maurizio Cattelan (เมาริซิโอ คัตเตลัน) ศิลปินอิตาลีสุดกวน เจ้าของผลงาน ‘America’ ประติมากรรมส้วมทองคำ ที่เคยสร้างความลือลั่นในวงการศิลปะและการเมืองมาแล้วใน พ.ศ. 2559 สำหรับ กล้วยแปะเทปนี้ ทันทีที่ข่าวการขายได้แพร่ออกไป ก็เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง แถมยังมีเรื่องราวต่อเนื่องเกิดขึ้นตามมามากมาย จนทำให้ผลงานนี้ได้ครอบครองหน้าหนึ่งเรียกแขกดึงทุกความสนใจจากคนในวงการศิลปะทั่วโลกได้ตลอดทั้งอาทิตย์ วันนี้เต้ Art Man จะมาเล่าเรื่องราวของผลงานชิ้นนี้ ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งหน้าสำคัญของประวัติศาสตร์ศิลปะร่วมสมัยระดับโลกเลยทีเดียว
เปิดตัวกล้วย
เริ่มจากวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เมื่อทางทาง Perrotin (แปโรแตง) แกลเลอรี่ชื่อดังสัญชาติฝรั่งเศส ที่ร่วมงานกับ Cattelan มาเกือบ 30 ปี ได้ออกมาประกาศว่าผลงานกล้วยแปะเทป หรือ ‘Comedian’ ขายไปได้ในราคา 120,000 USD หรือ ราวๆ 3.6 ล้านบาท และ ยังขายไปได้ สอง จาก สาม เอดิชั่น(ซึ่งมี AP (Artist Proof) 2 ชิ้น ) จึงทำให้ Perrotin ตกลงกับ Cattelan ว่า เอดิชั่นสุดท้าย จะขึ้นราคาเป็น 150,000 USD หรือราว 4.5 ล้านบาท (ขึ้นมาเกือบล้านบาท)
ดูโพสต์นี้บน Instagram
แนวคิดกล้วย
จากข้อมูลที่ทาง Perrotin ได้ให้กับสื่อระบุว่า “Cattelan มีไอเดียการทำงานชิ้นนี้มาตั้งแต่ปีที่แล้ว เขาอยากจะสร้างประติมากรรมสักชิ้นให้มีรูปทรงคล้ายกับกล้วย ทุกครั้งเวลาเดินทาง เขาจะนำผลกล้วยติดตัวไป เอาไปดู ไปแขวนไว้ที่โรงแรมเพื่อหาแรงบันดาลใจ ซึ่ง Cattelan ได้ทดลองสร้างงานแบบกล้วยๆด้วยวัสดุที่หลากหลาย ทั้งเรซิ่น ทั้งทองแดง จนสุดท้ายตัดสินใจใช้กล้วยจริง” นอกจากนี้ทางผู้ก่อตั้งแกลเลอรี่ Emmanuel Perrotin (เอ็มมานูเอล แปโรแตง) ยังได้กล่าวถึงผลงานนี้ว่า “กล้วยนั้นมีความหมายในสองแง่มุม มุมหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการค้าระหว่างประเทศ อีกมุมหนึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มักถูกใช้สร้างความตลกขบขัน ดังนั้นผลงานชิ้นนี้ของ Cattelan จึงมีทั้งความขบขัน และ วิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์การค้าโลกในคราวเดียวกัน”
กระแสตอบรับ
ซึ่งหลังจากเรื่องราวนี้สะพัดอยู่ไปในโลกโซเชียล ผู้คนมีความเห็นแตกต่างมากมาย บ้างก็ว่าเป็นงานศิลปะที่แสดงถึงอุดมการณ์ การสร้างงานศิลปะ โดยใช้วัตถุ Ready-Made หรือ Found Object (สิ่งของที่มีอยู่แล้วพบเห็นได้ทั่วไป) ในแบบฉบับ Dadaism อย่างแท้จริง แต่ บ้างก็ว่าเป็นแค่การโปรโมททางการตลาดแบบฉาบฉวยเท่านั้น
ซึ่งไม่ว่าจะใครจะคิดอย่างไร บูธของ แกลเลอรี่ Perrotin ใน Art Basel Miami Beach ก็เนืองแน่นไปด้วยผู้คนมากมายที่หวังจะไปเซลฟี่ ถ่ายรูปกับกล้วยในตำนาน รวมถึงศิลปินอเมริกัน David Datuna (เดวิด แดทตูน่า) ไม่เพียงแต่เข้าไปชมเท่านั้น เขายังได้แกะกล้วยออกจากผนังมากินต่อหน้าธารกำนัล เราไปชมภาพวินาทีแห่งการกินกล้วยราคาหลักล้านนี้ ในวันที่ 8 ธันวาคม 2562 หลังจากที่มีข่าวประกาศการขายผลงานนี้เพียงแค่สามวัน
ดูโพสต์นี้บน Instagram
โดย Datuna บอกกับฝูงชนที่กำลังถ่ายคลิปอย่างตกตะลึงว่า นี่เป็นผลงานศิลปะการแสดงสดที่ชื่อว่า “Hungry Artist” หรือ ศิลปินผู้หิวโหย ซึ่งทุกท่านคงพอจะเดาได้ว่าการแสดงสดของ Datuna นั้นได้โหมกระพือกระแสของผลงานกล้วยให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และ ในอินสตาแกรม ของ Emmanuel ได้ออกมาประกาศว่าแกลเลอรี่ของเขาจะเลิกจัดแสดงผลงานนี้ในวันสุดท้ายของงาน Art Basel Miami Beach 2019
ผู้ซื้อกล้วย
ถึงแม้ว่า งานแสดงจะจบไปในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2562 แต่กระแสความฉงนสงสัยในชิ้นงานนี้ยังเป็นที่กล่าวถึง จนกระทั้งวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2562 โลกก็ได้ทราบกันว่าหนึ่งในผู้ที่ได้เป็นเจ้าของผลงานนี้คือ Billy (บิลลี่) และ Beatrice (เบียทริซ) Cox (ค็อกส์) นักสะสมศิลปะที่มีประสบการณ์คร่ำหวอดอยู่ในวงการมากกว่า 20 ปี โดย ว่ากันว่า Billy นั้นเป็นลูกหลานครอบครัว Bancroft (บลังค์คร็อฟท์) ที่ได้เคยขายบริษัท Dow Jones (ดาวโจนส์)กับให้กับเจ้าพ่อสื่ออย่าง Rupert Murdoch (รูเพิร์ต เมอร์ด็อก) ไปเมื่อปี พ.ศ. 2550
จากข้อมูลของ Pagesix ผู้ซื้อรายได้นี้ได้เปรียบผลงาน ‘Comedian’ เทียบชั้นกับ ‘Campbell’s Soup Can’ ของ Andy Warhol (แอนดี วอร์ฮอล) เลยทีเดียว แถมยังบอกอีกว่า ผลงานนี้เป็นเสมือนยูนิคอน (ผลงานที่ประสบความสำเร็จมากๆ) แห่งวงการศิลปะ และที่ซื้อไปเพราะมีแผนที่จะนำไปบริจาคให้กับพิพิธภัณฑ์สักแห่งเพื่อให้เป็นงานสาธารณะที่ผู้คนจะได้ศึกษากันต่อไป (โดยการบำรุงรักษางานศิลปะชิ้นนี้คือ “เปลี่ยนกล้วยทุกสองวัน”)
Conceptual Art?
มาถึงจุดนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วจะจ่ายเงินหลายล้านทำไม ในเมื่อเราสามารถซื้อกล้วยแถวบ้านหวีละ 20 บาทเอามาแปะเทปกาวเองได้
จริงอยู่ที่เราสามารถซื้อกล้วยมาทำเองได้ แต่หากซื้อจากศิลปินอย่างเป็นทางการ จะได้สิ่งที่เรียกว่า Certificate of Authenticity (COA) หรือ ใบรับรองว่าเป็นของแท้นั้นเอง ซึ่งเมื่อมีใบรับรองแล้วจะทำให้ผู้ซื้อมาสามารถเปลี่ยนกล้วยเอง แล้วนำไปจัดแสดงโดยสามารถบอกว่าเป็นผลงานของ Cattelan ได้
แสดงว่ากล้วยที่ไม่มีใบรับรองแสดงว่าไม่ใช่กล้วยแท้ ?
ผลงานชิ้นนี้เป็นตัวอย่างที่ดีมาก ของ ศิลปะประเภท “ศิลปะเชิงแนวคิด” หรือ Conceptual Art ซึ่งใบรับรองความแท้นั้นคือไม่ได้รับรองตัว ผลกล้วย และ แผ่นเทปกาว แต่เป็นความแท้ ของ ความคิด โดยวัสดุที่จับต้องได้อย่าง กล้วย และ เทปที่อยู่บนผนังนั้นเป็นเพียงเครื่องมือ หรือ สื่อ ที่โยงไปถึงความคิดของศิลปินที่ได้สร้างขึ้นในจินตนาการ เพราะฉะนั้นต่อให้กล้วยจะถูกกิน หรือ ดึงออกจากผนังไปอีกกี่เครือ ตัวผลงานที่เป็น “ความคิด” ยังคงอยู่เหมือนเดิม
กรณีพิพาท ขโมยความคิด?
จะเห็นได้ว่า ‘Comedian’ เป็นศิลปะที่เน้นขายแนวคิด ดังนั้นคงเป็นฝันร้ายหากศิลปะชิ้นนี้ถูกตั้งคำถามว่า ขโมยไอเดีย หรือ ลอกคนอื่นมา…. และมีการตั้งคำถามเช่นนี้ เกิดขึ้นจริงๆ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ 2562 ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งชื่อ Joe Morford Artist ได้ออกมาอ้างว่า ตัวเขาได้สร้างผลงานเอาเทปกาวมาแปะกล้วย แบบเดียวกับผลงานราคา 3 ล้านกว่าบาทของ Cattelan มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 แล้ว (ซึ่งนอกจากกล้วยแล้วยังมีส้มอีกด้วยนะ) ซึ่งแน่นอนว่า เขาไม่ได้อ้างลอยๆ ยังพกหลักฐานมาเต็ม ทั้ง คลิป Youtube ซึ่งมีภาพผลงานนี้ของเขาที่โพสต์ในปี พ.ศ. 2551 รวมถึงโพสต์ใน Facebook ที่ระบุวันโพสต์ วันที่ 29 กรกฏาคม พ.ศ. 2558 แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ได้รับความสนใจเท่าไรนัก ซึ่งทางแกลเลอรี่ ศิลปิน และ สื่อต่างๆ ก็ไม่ได้ออกมากล่าวถึงประเด็นนี้แต่อย่างใด
คลิปและโพสต์ต่างๆที่เพจ Joe Morford Artist ได้รวบรวมไว้
โลก Social
ไม่ว่าเบื้องหลังเรื่องราวทั้งหมด ของผลงานกล้วยแปะเทป ‘Comedian’ จะเป็นอย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ผลงานนี้ได้กลายเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลปะไปแล้ว เรื่องนี้ทำให้หัวข้อของ “คุณค่า” ทางศิลปะ ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงกันในวงกว้าง และ แน่นอนว่า แนวคิดเอากล้วยมาแปะเทปกาวนี้ก็ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ บริษัทห้างร้าน นำมาล้อเลียนกันมากมายในโลกออนไลน์ รวมถึง เจ้าพ่อนักธุรกิจแห่งอนาคตอย่าง Elon Musk (อีลอน มัสก์) ซึ่งมีภาพมาให้ชมกัน
Reply with your best offer. pic.twitter.com/djaZa3Qwzm
— Pepsi (@pepsi) December 6, 2019
ดูโพสต์นี้บน Instagram
Would you rather a $120,000 banana ? or a priceless PERRIER®? #PERRIER #Banana #ArtWork
ดูโพสต์นี้บน Instagram
ดูโพสต์นี้บน Instagram
ดูโพสต์นี้บน Instagram
Lowcost Cosplay ก็มา
Source
- https://news.artnet.com/market/maurizio-cattelan-banana-art-basel-miami-beach-1722516
- https://news.artnet.com/market/cattelan-banana-art-art-basel-1725678
- https://pagesix.com/2019/12/09/billy-and-beatrice-cox-new-owners-of-notorious-art-basel-banana-piece-speak-out